วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรามาทราบความผิดทางกฏหมายของอาชีพ"ปาปารัสซี่"กันค่ะ

   เราคงทราบและรู้จัก ปาปารัสซี่กันอยู่แล้วใช่ไหมคะ แต่วันนี้เราจะทำความรู้จักให้ลงลึกของกฎหมายของปาปารัสซี่นี้ว่า
มีกฏหมายใด คอยจงดูและจ่องดำเนินคดีกับเจ้าปาปารัสซี่นี้ อยู่ในกฎหมายมาตรา 46 เสรีภาพสื่อค่
มาตรา 46 : เสรีภาพของสื่อ

ถึงแม้ว่าปาปารัสซี่ จะเป็นสื่อมวลชนที่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นใด และ บุคคลผู้ที่ถูกแอบเก็บภาพ อาธิเช่น ดารา จะเป็นบุคคลสาธารณะก็ตาม ปาปารัสซี่ต้องเคารพความเป้นส่วนตัวของบุคนนั้นด้วย
กรณีนำไปเผยแพร่บนสื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆหรือบนสถานที่ต่างๆ ซึ่งมิใช้เป็นการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ในลักษณะนี้แป็นการเผยเพร่บนสื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่นนิตยาสาร (Magazineหนังสือพิมพ์ เป็นต้น หรือบนสถานที่ต่างๆ ซึ่งมิใช้เป็นการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ แล้วการเผยแพร่นั้นทำให้บุคคลผู้ที่ถูกเหล่าปาปารัสซี แอบเก็บภาพ (เหยื่อ หรือ เป้าหมาย) ได้รับ’’’ความเสียหาย’’’



ความผิดทางประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์



’’’ความเสียหาย’’’ ในที่นี้ทำให้เสียหายต่อ’’’ชื่อเสียง’’’ ในทางกฎหมายนั้นเราจะเรียก ปาปารัสซี ว่า ’’’ผู้ที่กระทำละเมิด’’’ ต่อ บุคคลผู้ที่ถูก แอบเก็บภาพ เราจะเรียกบุคคลนี้ว่า ’’’ผู้ที่ถูกกระทำละเมิด’’’ ฉะนั้นแล้ว ปาปารัสซี กระทำละเมิดตาม ‘’’มาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์’’’

ซึ่ง’’’มาตรา 420’’’ บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
และในบางทีเหล่าปาปารัสซี ก็นำภาพที่ถ่ายได้ไปทำข่าว ซึ่งบางครั้งข่าวเหล่านั้นก็อาจมีข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริงและข่าวเหล่านั้นก็อาจทำให้ผู้ที่ตกเป็นข่าวนั้นได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือการงานได้ เมื่อเป็นการกระทำเช่นนี้ผู้ที่ทำการให้ข่าวต่างๆหรือสื่อ ในทางที่เสียหายก็มีความผิดฐานละเมิดต่อผู้ที่ตกเป็นข่าวนั้นได้ ตามมาตรา 420 ประกอบกับมาตรา 423
ซึ่ง ‘’’มาตรา 423’’’ บัญญัติว่า “ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่การนั้นแม้ทั้งเมื่อ ตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้ ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้น หาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่”
สำหรับค่าสินไหมเพื่อการละเมิดนั้นผู้ที่ถูกละเมิดต้องร้องขอต่อศาลเองเพื่อที่ศาลจะได้ทำการวินิจฉัยไปตามรูปการแห่งคดีแล้วแต่กรณีว่าจะให้ได้รับการทดแทนหรือเยียวยาอย่างไรบ้าง ซึ่งมีบัญญัติไว้ใน’’’มาตรา 447’’’ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นเรื่องที่เกียวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่องความเสียหายที่มีต่อชื่อเสียง

ซึ่ง ‘’’มาตรา 447’’’ บัญญัติว่า “บุคคลใดทำให้เขาต้องเสียหายแก่ชื่อเสียง เมื่อผู้ ต้องเสียหายร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นจัดการตามควรเพื่อทำให้ ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีแทนให้ใช้ค่าเสียหายหรือทั้งให้ใช้ค่า เสียหายด้วยก็ได้” 


เห็นแล้วใช่ไหมว่า อาชีพ  ปาปารัสซี่ หรือที่เรียกว่างาน แอบถ่ายภาพ

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มารู้จักมาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทน เพื่อการละเมิด


              หลายๆคนอาจจะยังสับสนและอาจจะคิดอย่างหนักว่าเมื่อเกิดการละเมิด และจะต้องจ่ายสินไหมทดแทนอย่าไรนั้น วันนี้ดิฉันสรุปมาให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ
              ในมาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ศาลวินิจัย ตามควรแก่
พฤติการณ์ และความร้ายแรงละเมิด อนึ่ง ค่าสินใหม่ทดแทนนั้น ก็จะมีในรูปแบบดังนั้
     " การคืน ทรัพย์ สินอันผู้เสียหายต้องเสียไป เพราะละเมิด" หรือใช้ราคาทรัพย์นั้น รวมทั้ง ค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้  เพื่อความเสียหายใดๆ อันก็ขึ้นนั้น
            เช่น นาย ก เป็นผู้ละเมิดได้ ขับรถโดยประมาทชนเด็กหญิง ข ตายและทรัพย์สินของ เด็กหญิง ข เสียหาย ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้นางสาว ข ตามความเหมาะสมและความเสียหายของเด็กหญิง ข ให้กับญาติผู้เสียชีวิต

          แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครที่จะคิดอยากจะยุ่งยากและเสียเงินทองเพื่อจ่ายสินไหมทดแทนความเสียหายให้คนอื่นจริงไหมคะ ทางที่ดี ใช้ชีวิตอยู่ในความไม่ประมาทเลินเล่อ ชีวิตเราทุกคนก็จะอยู่อย่างปลอดภัยทั้งสองฝ่าย และมีความสุขอยู่ร่วมกันในสังคมที่ดีนะคะ

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันนี้ขอนำเสนอกฏหมายที่ใกล้ตัวกันหน่อยในมาตรา11

   เรื่องนี้เคยประสบกับตัวดิฉันมาแล้วค่ะ แล้วก็อยากทราบเหมือนกันว่าทุกเคย ปฏิบัติตามดิฉันรึเปล่า
ขอเล่าจากประสบการณ์จริงๆนะคะ เกิดจากการส่ง ข้อความที่ส่งต่อกันมาอีกทีนึ่งและเป็นการบอกต่อกัน
ซึ่งทำให้เราเชื่อจนต้องทำตามนั้นก็ เคยมี ข้อความส่งมาจากอีเมล์เว็บที่เราใช้บริการ ส่งมาให้ก๊อบปี้
อีเมล์นั้นแล้วส่งต่อไปยังอีเมล์ของเพื่อนๆ ถ้าไม่ต้องต่อนั้นจำนวน20คน ทางระบบจะทำการระงับอีเมล์ของเรา
หลังจากคุณได้อ่านข้อความ/จดหมายฉบับนี้
      เราทำตามที่อีเมล์บอกต่อส่งมาเรื่อยๆ เพราะเชื่อแต่วันนี้ดิฉันได้เรียกเกี่ยวกับกฏหมายขอนี้ อยู่ในมาตรา11
จึงได้ทราบว่า มันไม่ใช่ความเป็นจริง และยังตกเป็นผู้ที่ได้รับความก่อกวนจากผู้ที่ก่อความวุ่นวายในระบบจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์ อีกด้วย
      มาตรา 11 จึงกล่าวไว้ว่า ผู้ใด ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือ
ปลอมแปลงแหล่งที่มาของข้อมลดังกล่าว อันเป็นกระบวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข

 เช่น  นี้ก็เป็นกรณีตัวอย่างที่ดิฉันเคยพบมากับตัวเองนะคะ และมาดูกันกรณีศึกษานี้ "จะต้องระวางโทษไม่เกิน
หนึ่งแสนบาท"


วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

รับปลายเดือนของเทศกาลปีใหม่57อย่าลืมใส่ใจกฏหมายกันนะคะ



    ใครหลายคนที่ทราบอยู่แล้วว่า การที่เราทำตนที่เป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตย์ หรือเบื้องสูงทุกคนคงไม่กล้ากระทำอยู่แล้วเพราะอะไรนั้นหรอคะ วันนี้ดิฉันจึงขอนำเสนอ กฏหมายมาตรานี้ให้รู้จักกันค่ะ มาตรานี้คือ มาตรา 112 

        “มาตรา 112 – ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”


       หากท่านต้องการที่จะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายมาตรานี้เพิ่มเติม ผมขอแนะนำบทความด้านล่างนี้ลงไปค่ะ ซึ่งเขียนเกี่ยวกับแง่มุมในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว
        เมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า    โดยเนื้อหาแล้วก็เหมือน กับความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา กล่าวคือ การจะหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาก็ใช้นิยามเดียวกัน คือ “การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามอันน่าจะทำให้ผู้อื่นเสียหาย” จะมีส่วนที่แตกต่างกันเพียงสามประการ  คือ
1.  หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์มีโทษหนักกว่าหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา
2.  หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ไม่อาจนำเหตุให้กระทำการได้ตามมาตรา 329  และมาตรา 330มาอ้างได้  และ
3.  ความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์เป็นความผิดเกี่ยวด้วยความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
บุคคลที่มาตรา 112  ประสงค์จะคุ้มครอง คือ พระมหากษัตริย์  พระราชินี  รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  ในขณะที่ความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาตามมาตรา 326 นั้น  เป็นความผิดเกี่ยวด้วยเสรีภาพและชื่อเสียง ซึ่งมุ่งคุ้มครองบุคคลธรรมดา
กล่าวโดยสรุปปัจจุบันนี้ไม่มีข้อหาทางอาญา ฐาน หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีแต่ข้อหา หมิ่นประมาท  ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์  พระราชินี  รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งเป็นความผิดที่อยู่ในบทบัญญัติของลักษณะ 1  ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หมวด 1  ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์  พระราชินี  รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค แต่การที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นั้น จะต้องเป็นการกระทำต่อพระมหากษัตริย์  พระราชินี รัชทายาท  หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้น ไม่รวมถึงเชื้อพระวงศ์คนอื่นๆ  ทั้งนี้ เนื่องจากตามมาตรา 112  มุ่งคุ้มครองบุคคลผู้เป็นประมุขแห่งรัฐ และผู้เป็นอุปกรณ์ในสถาบันดังกล่าว ได้แก่
1.     พระมหากษัตริย์ (The King) หมายถึง องค์ที่ทรงครองราชย์อยู่ขณะที่มีการกระทำความผิด มิใช่พระมหากษัตริย์ที่ทรงสละราชบัลลังก์แล้วหรือพระมหากษัตริย์ในอดีต  มิฉะนั้นก็จะหาขอบเขตอันเป็นองค์ประกอบความผิดมิได้
2.     พระราชินี (The Queen) หมายถึง สมเด็จพระมเหสีที่เป็นใหญ่กว่าพระราชชายาทั้งหลาย ซึ่งมีเพียงพระองค์เดียวได้ผ่านการอภิเษกสมรส โดยเป็นพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์อยู่ขณะมีการกระทำความผิดไม่ใช่พระราชินีในรัชกาลก่อน แม้ยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม
3.  รัชทายาท (The Crown Prince) บางครั้งเรียกว่า “มกุฎราชกุมาร” หมายถึง พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงครองราชย์อยู่ และจะได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไป ตามนัยที่ตราไว้ใน
กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2467 
4.  ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (The Regent) หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ประมุขแทนพระมหากษัตริย์ เป็นการชั่วคราว ตามนัยแห่งรัฐธรรมนูญ         
 ยกตัวอย่าง
         มีกลุ่มบางกลุ่ม ใช้คำจาบจ้วงถึงพระมหากษัตริย์ โดยผ่านคลิปวีดีโอ หนึ่งซึ่งเผยแพร่ออกทางอินเตอร์เน็ต กลุ่มคนนั้นโดยเฉพาะที่กระทำการผิดนั้น"ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
        นี้ก็เป็นกฏหมายภายใต้มาตรา 112  ฉันเชื่อว่า ทุกคนรู้หน้าที่ของตนอยู่แล้ว และควรทำหน้าที่พลเมืองดี คนไทยที่มีจิตสำนึก ทำในสิ่งที่ดีๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทเจ้าอยู่หัว ของเรานะคะ ในฐานะที่เกิดในผืนแผ่นดินไทยค่ะ







วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หายไปหลายวันเลยกลับมาแล้วคะ รู้ทันกฏหมายนิเทศศาสตร์วันนี้ขอนำเสนอเรื่อง "การหมิ่นประมาทคนตาย"

           "การหมิ่นประมาทคนตาย"  ดิฉันว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เห็นอยู่ใกล้ตัว ในบางคนที่ไม่ค่อยจะทราบเกี่ยวกับกฏหมายมาตรา327 นี้ วันนี้เลยนำให้มาให้ทุกคนได้รับทราบกันว่า การที่เราใส่ความหรือพูดจาที่ทำให้บุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว เกิดความเสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียงนั้น ในขณะที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว ไม่ได้แปลว่าผู้ใส่ความนั้นจะไม่ได้รับความผิดนะคะ ถึงคนตายไม่ได้ฝืนขึ้นมาตอบโต้ได้หรือฟ้องกลับแต่ก็ใช่ว่าเขาไม่ได้มีญาติพี่น้องครอบครัวหรือสามีภรรยาของเขานะคะ เลยอยากให้ทุกคนทราบกันว่า คนไม่มีชีวิตไม่ใช่จะคิดว่าเราก็สามารถพูดหรือกระทำอะไรก็ได้ ค่ะ

            การหมิ่นประมาทต้องเป็นการหมิ่นประมาท “ผู้อื่น” ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มี ชีวิตอยู่จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้   แต่กฎหมายยังได้บัญญัติกำหนดโทษผู้ที่ทำการหมิ่นประมาทคนตายไว้ด้วย คือ ต้องหมิ่นประมาทคนที่ตายไปแล้ว
           การหมิ่นประมาทคนตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา  327 บัญญัติ ไว้ว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม และการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้ บิดามารดา คู่สมรสหรือ บุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้น”
          ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จะเป็นผิดฐานหมิ่นประมาทคนตายนั้น จะมีหลักเกณฑ์เหมือนกับหมิ่นประมาทธรรมดา คือ    เป็นการใส่ความผู้ตาย ต่อบุคคลที่สาม แต่หลักเกณฑ์ที่จะทำให้การ หมิ่นประมาทคนตายเป็นการผิดกฎหมาย ก็คือ
          การใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของ ผู้ตาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังไม่ใช่ว่าใส่ความผู้ตาย แล้ว น่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง   ผู้ตาย คือคนตายที่ไม่มีชีวิต ต้องดูว่าขณะใส่ความหรือกล่าวหมิ่นประมาท นั้น คนที่ถูกใส่ความตายหรือยัง ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีผลทางกฎหมาย คือ ถ้าขณะ ใส่ความตายไปแล้ว แต่ผู้ตายไม่มีบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ก็จะเอาผิดแก่ผู้ ใส่ความไม่ได้ 


  กฎหมายกำหนดตัวบุคคลที่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาท คนตายไว้ดังนี้
    *  บิดา  ต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดา
    *  มารดา  คือเป็นแม่ นั่นเอง  แต่ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสกับพ่อ
    *  คู่สมรส  ต้องมีการจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายถ้าเพียงแต่  อยู่กินกันฉันสามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็ไม่ถือเป็นผู้เสียหาย
   *   บุตร  ก็ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้ตายเป็นบิดา บิดาก็ต้อง จดทะเบียนสมรสกับมารดา แต่ถ้าผู้ตายเป็นมารดา มารดากับบุตรมีความ สัมพันธ์กันตามกฎหมายอย่างถูกต้องเสมอแม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับพ่อ กฎหมายกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นผู้เสียหายไว้เพียงเท่านี้ บุคคลนอกเหนือ จากนี้ไม่ถือเป็นผู้เสียหาย  มิฉะนั้นการใส่ความผู้ที่ตายไปแล้วร้อยปีพันปีนั้น
เป็นผิดหมด  เช่น หมิ่นประมาทพระเจ้าเอกทัศน์หากใครพิสูจน์ได้ว่าเป็นลูกหลาน พระเจ้าเอกทัศน์ก็เอาผิดผู้หมิ่นประมาทได้ ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง
       อย่างไรก็ตามถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้อง ทุกข์ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็น ผู้เสียหาย หมายความว่าถ้าได้มีการหมิ่นประมาทคนที่ยังมีชีวิตอยู่แต่คนที่ถูก หมิ่นประมาทได้ตายในเวลาต่อมาบุคคลดังกล่าวข้างต้นจะดำเนินต่อไปกับ ผู้หมิ่นประมาทได้

 

 

 ตัวอย่างเช่น

       นายเจ(นามสมมุติ) เคยเป็นเพื่อนเก่าของนายเชน(นามสมมุติ)ผู้เสียชีวิต นายเจได้บอกกับนางสาวชิด(น้องสาวผู้เสียชีวิต) ว่านายเชนได้ขโมยเงินของตนไปจำนวนหนึ่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว จึงมาทวงเงินกับญาติผู้ตาย

     ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้น” 

   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

         เห็นแล้วใช่ไหมคะว่า คนตายแล้วเราไม่สามารถเอาความผิดไปโยนให้เขารับได้ เพราะถือคนตายเป็นบุคคลที่ไม่สามารถทำอะไรได้  กฏหมายจึงมีไว้ให้ทุกคนได้รับทราบและปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง ไม่ให้เกิดการกระทำผิดกันนะคะ ถ้าในบางคนไม่ทราบว่ายังมีกฏหมายนี้อยู่ละก็แนะนำให้ทุกคน ค่อยๆคิดค่อยๆพูดใจเย็นๆทุกอย่างก็จะดีเองนะคะ  ห่วงใยจากผู้จัดพิมพ์ค่ะ

 


      

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

มาถึงกฏหมายที่ใกล้ๆตัวที่หลายคนอาจจะประสบด้วยตัวเองก็ได้ ในมาตรา 136 คะ

        ดิฉันขอบอกว่ากรณีตัวอย่างที่เล่าให้ฟังต่อจากนี้ อาจเคยประสบกับใครหลายๆคน กับวินาทีที่เร่งด่วนของเรา แต่ต้องมาถูกใบสั่งจากเจ้าหน้าทีตำรวจ บนท้องถนนแห่งความเร่งรีบที่ต้องทำเวลาในการไปทำงานหรือวัยรุ่นก็อาจจะต้องรีบไปเรียนในเวลาเช้าๆ แต่ถูกเจ้าหน้าทีตำรวจจับและอาจจะยึดใบขับขี่ หรือยึดรถมอเตอร์ไซต์และกรณีอื่นๆ แต่ถึงอย่างไรเราก็ไม่สามารถกระทำการผิด ที่จะคิดด่าหรือทำร้ายเจ้าหน้าทีหรือฝ่าฝืนการจับนั้นได้ และถ้าเกิดกรณี ดังนี้ คุณจะเป็นผู้กระทำผิดในฐานหมิ่นเจ้าพนักงานทันที
          
         ตัวอย่างเช่น

       
               นายอิด(นามสมมุติ) รีบไปมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เพราะตื่นสายและยังไม่ได้สวมมวกกันน็อค
จึงถูกเจ้าที่ตำรวจเรียก เมื่อนายอิด จอดรถได้ พูดจาต่อว่าเจ้าที่ ว่า "จับหาแม่มึงเหรอ" คุณมีความผิดทันทีตาม  หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน   มาตรา 136 ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือ เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หมายเหตุมาตรา 136 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
 
       **หมายเหตุ**ด้วยรักและความหวังดีจากผู้จัดพิมพ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้จริงก็ขอให้ปล่อยให้เจ้าหน้าที่เขาทำงานของเขาไปดีกว่านะคะ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานต่างๆเขาก็มีหน้าที่และรับคำสั่งมาอีกที ใจจริงๆเขาก็ไม่อยากกระทำกับเราหรอก แต่มันคือหน้าที่ เช่นกับเราที่เป็นประชาชนที่ดีเราก็จงทำตนให้ดีปลอดภัยจากสิ่งที่ผิดกฏหมายทุกประการนะคะ 



วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ข้อสำคัญที่นักนิเทศศาสตร์ควรรู้โทษของละเมิดลิขสิทธิ์


การละเมิดลิขสิทธิ์
     กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดพฤติกรรมใดว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานของผู้อื่นไว้ชัดเจน ได้แก่ การทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่งานต่อสาธารณชน ซึ่งงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต ส่วนงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นได้เพิ่มการกระทำละเมิดอีกอย่างหนึ่งไว้ คือ การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน หากผู้ใดกระทำการดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องรับโทษอาญาและจ่ายค่าเสียหายแก่เจ้าของงานด้วย หากผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำการต่อไปนี้แก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย ได้แก่
1.ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
2.เผยแพร่ต่อสาธารณชน
3.แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ เจ้าของลิขสิทธิ์
4.นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

โทษการละเมิดลิขสิทธิ์
     กฎหมายคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ แล้วกำหนดโทษหนักแก่ผู้ทำละเมิดไว้ชัดเจน การละเมิดต่องานของผู้สร้างสรรค์ทั้งทำซ้ำ ดัดแปลงงาน เผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับความยินยอมตามกฎหมาย ต้องมีโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หากพฤติกรรมทำละเมิดดังกล่าวเพื่อการค้า ผู้กระทำจะมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ